วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร

1.6  ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Organizational Communication Channels)  มี  2 ประเภท  ดังนี้
        1. การติดต่อสื่อสารในแนวดิ่ง
(Vertical Communication)   คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา (ต่างชั้นกัน)
       การติดต่อสื่อสารในแนวดิ่ง (Vertical Communication)  ข่าวสารไหลได้  2  ทางด้วยกัน คือ
                 1.1  การติดต่อสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication)          
                1.2  การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication)

         1.1  การติดต่อสื่อสารจากบนลงล่าง  (Downward Communication)   คือ การไหลของข้อมูลข่าวสารจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง


* การติดต่อสื่อสารจากบนลงล่าง ( Downward Communication)
ยกตัวอย่างเช่น
         1. คำสั่งงาน
         2. คำชี้แจงเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
         3. ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
         4. ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลประเมิน   การทำงานของพนักงาน
         5.การกระตุ้นพนักงานให้ตั้งใจทำงาน
  
    1.2  การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication)  คือ การไหลของข้อมูลข่าวสารจากพนักงานระดับล่างไปสู่พนักงานระดับที่สูงกว่


* การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน   (Upward Communication)
1.  ความก้าวหน้าของโครงการที่รับผิดชอบ
2.  การขอความช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชา
3.  เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อองค์การ
4.  ข้อเสนอแนะในการทำงานใหม่ๆ
5.  ทัศนคติ ขวัญ และประสิทธิภาพ
                 Management by Wandering Around : (MBWA) คือ การบริหารโดยเดินดูรอบๆ

2.              การติดต่อสื่อสารในแนวนอน (Horizontal Communication) คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานระดับเดียวกัน หรือ หน่วยงานเดียวกัน

*  การติดต่อสื่อสารในแนวนอน (Horizontal Communication) เกิดจากการประสานงาน (Coordination) การแก้ปัญหา การแจ้งข่าวสาร และการช่วยเหลือกันและกัน

  *  อุปสรรคของการติดต่อสื่อสารในแนวนอน
          1. การแข่งขัน
          2. ความชำนาญเฉพาะอย่าง
          3. การขาดแรงจูงใจ
*  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่น
          1. ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-Mail System)
          2. การประชุมทางวิดีโอทัศน์ (Video Teleconferencing)
1.7  ลักษณะของการสื่อสารที่ดี
           การส่งสารโดยการพูดหรือการเขียน ที่จะทำให้เกิดประสิทธิผลต่อการดำเนินธุรกิจ ควรมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
            1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility) หมายถึงสารที่สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น
            2. มีสาระ (Content) หมายถึง สารนั้นมีสาระให้ความพึงพอใจ เร่งเร้า และชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจ
            3. ชัดเจน (Clearity) หมายถึง การเลือกใช้คำ หรือข้อความที่เข้าใจง่าย ข้อความไม่คลุมเครือ
            4. เหมาะสมกับโอกาส (Context) หมายถึงการเลือกใช้ภาษาและวิธีส่งสาร ตลอดจนผู้รับได้เหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
            5. ช่องทางการส่งสาร (Channels) หมายถึงการเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
            6. ความต่อเนื่องและแน่นอน (Continuity and Consistency) หมายถึง การสื่อสารที่กระทำอย่างต่อเนื่อง มีความแน่นอนถูกต้อง
            7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience) หมายถึง การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสาร สามารถรับสารได้ง่ายและสะดวก โดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมและวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ
1.8  คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
          2. มีทักษะในการใช้ภาษาในการสื่อสาร 
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
          4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
          5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
         11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
         12. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี

 1.9  ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
          1. ใช้คำที่กะทัดรัด  เข้าใจง่าย  สื่อความหมายได้ชัดเจน
          2. ใช้คำสุภาพ เหมาะสมแก้โอกาส  ไม่ใช้คำ หรือข้อความที่มีความหมายได้หลายทาง
          3. ใช้ข้อความ หรือประโยคที่ไพเราะ ไม่ใช้สำนวน หรือรูปประโยคของภาษาต่างประเทศ
          4. ใช้ภาษาที่สร้างสรรค์สังคม และรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาติไทย
1.10  การใช้บริการการสื่อสารแห่งประเทศไทย
             ธุรกิจทุกประเภทย่อมต้องการการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว องค์กรธุรกิจสามารถติดต่อใช้บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ดังนี้
              1. บริการไปรษณีย์ ได้แก่  การส่งไปรษณียภัณฑ์  พัสดุภัณฑ์
              2. บริการโทรคมนาคม ได้แก่ การบริการสื่อโทรคมนาคมทั้งภายใน และภายนอประเภท   เช่น   โทรศัพท์  
              3. บริการการเงินได้แก่ การส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ ฯลฯ
1.11  การติดต่อสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยี
          ก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเกิดขึ้น สื่อที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปล้วนมีข้อจำกัด ไม่สามารถส่งผ่านสารสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำงานขององค์กรต่าง ๆ จะใช้โทรศัพท์และกระดาษเป็นสื่อในการติดต่อเป็นส่วนใหญ่โทรศัพท์จึงเป็นการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผู้สื่อสารควรนัดหมายให้พร้อมเพื่อไม่ให้เสียโอกาส ผลของการติดต่อไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานส่วนการใช้กระดาษ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือแบบฟอร์มการซื้อขายต่าง ๆ ล้วนต้องใช้เวลานานในการประมวลผล
          ส่วนสื่อมวลชน  เช่น   โทรทัศน์  และวิทยุเป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ชม หรือ ผู้รับสารสนเทศ          ไม่สามารถจะส่งสารสนเทศกลับไปยังผู้เผยแพร่สื่อได้ง่าย   อินเทอร์เน็ต  จึงเป็นสื่อชนิดใหม่ซึ่งเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสาร สามารถสื่อสารกันได้แบบสองทาง  บุคคลที่ต้องการติดต่อกัน  ไม่จำเป็นต้องนัดหมาย  เพื่อพบปะในขณะเดียวกันข้อมูลต่าง ๆ  ที่ส่งผ่านสามารถบันทึกและเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ง่าย  นอกจากนี้  อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่รองรับได้ทั้งการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือต่อหลาย ๆ ราย  ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต  มีอยู่มากมายมหาศาล  ทำให้ผู้รับสารเลือกได้เท่าที่ต้องการ
            ระบบอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  จุดเด่นของอินเทอร์เน็ต คือ การใช้มาตรฐานที่ทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์มือถือ หรือ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสาร  เชื่อมโยงกันได้โดยไร้พรมแดน           การสื่อสารนั้น  ทำได้ด้วยความเร็วแสง และเป็นการสื่อสารแบบสองทาง
               ปัจจัยที่ทำให้อินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ
               1. เป็นมาตรฐาน มาตรฐานของระบบอินเทอร์เน็ตทำให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และมีศักยภาพที่จะทำให้อุปกรณ์แทบทุกชนิดติดต่อกันได้ เช่นโทรศัพท์ มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกม ฯลฯ
              2. เป็นการเชื่อมโยง การเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะวงแคบ หากแต่มีการเชื่อมโยงติดต่อกับบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการตรงกัน โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ติดต่อกันโดยตรง
              3. โลกไร้พรมแดน โลกของอินเทอร์เน็ต เป็นยุคไร้พรมแดน ตำแหน่งที่อยู่ของประเทศต่าง ๆ ไม่มีความสำคัญ ถึงแม้จะอยู่ที่ใดก็ตามย่อมติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยไม่มีความรู้สึกแตกต่างด้านสถานที่
               4. ความเร็วแสง
               5. การสื่อสารแบบสองทาง
1.12  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E - Commerce)
               การดำเนินธุรกิจยุคใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบอีคอมเมิร์ชหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการขายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเจรจาสื่อสารทางการค้า ฯลฯ ผู้ประกอบการต้องปรับธุรกิจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และดำเนินธุรกิจการค้าระบบอีคอมเมิร์ซ ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ทำให้โลกเข้าสู่การติดต่อสื่อสารและการค้าไร้พรมแดน (Globalization) อย่างแท้จริง ทำให้ผู้ประกอบการค้าขายกับผู้บริโภคทั่วโลกได้โดยตรง ไม่ต้องเดินทางไปพบปะซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง
1.13  ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          การศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ E-Learning เกี่ยวข้องกับครูผู้สอนและผู้เรียนโดยตรง ปัจจุบันองค์กรของภาครัฐและเอกชนตลอดจนสถาบันการศึกษา เริ่มโครงการสอนแบบ E-Learning
             ความหมายของ E- Learning
             E- Learning มาจากคำว่า Electronics Learning หมายถึง การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ มาช่วยสอนแทนรูปแบบการสอนเดิม การใช้วีดีทัศน์ ซีดีรอม สัญญาณดาวเทียม แลน อินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต
             E- Learning เป็นการศึกษาทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet Pomputer Bework) ทั้งหลาย และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่มาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียน การวัดผล และการจัดการศึกษา ทั้งหมดแทนการเรียนการสอนแบบเดิม
             ลักษณะของ E- Learning
             E- Learning เป็นลักษณะการเรียนแบบออนไลน์ หมายถึง ลักษณะของข้อมูลที่เป็นข้อมูล ทางคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้การเรียนการสอน แบบ E- Learning เป็นการเรียนที่สามารถ โต้ตอบกันได้เหมือนการเรียนในห้องเรียนปกติ เพราะเป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นลักษณะของมัลติมิเดีย หรือ ลักษณะการแสดงข้อมูลเป็นรูปภาพ กราฟ เสียงและภาพเคลื่อนไหว ได้ ทำให้การเรียนการสอน แบบ E- Learning เป็นที่สนใจมากขึ้น นอกจากนี้ E- Learning มีคุณสมบัติสำคัญคือ เป็นการเรียนระยะไกล (Distance Learning) ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันแต่สามารถ เรียนหนังสือได้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา ผู้เรียนและผู้สอนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเชื่อมเช้าไปในอินเทอร์เน็ต ก็เรียนสอนกันได้ จึงเป็นผลให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self -Learning) มีประโยชน์คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีอิสระในการเรียน และมีความคล่องตัวในการเรียนมากขึ้น

              Distance Learning คือ การเรียนทางไกลโดยผู้เรียนและผู้สอน ไม่ได้อยู่ด้วยกัน จะเป็นวิธีการเรียนการสอนใดก็ตาม
               E-Learning คือการเรียนที่มีลักษณะเป็นการเรียนทาง ไกลด้วยระบบออนไลน์สามารถใช้สื่อการสอน ในรูปของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต โทรทัศน์ ดาวเทียม ซีดีรอม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
               Online  Learning  หรือ  Web-based  Learning หรือ Web-based  Instruction  มีความหมาย เหมือนการเรียน ทางไกล ผ่านทางเว็บจะเป็นรูปแบบ าของอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
               Computer based Learning หรือ Computer-assisted Instruction (CAI) หมายถึง การเรียนโดย ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นสื่อในการสอน
               ตำราอิเล็กทรอนิกส์  (E-Books)  หรือ Electronic Books  การศึกษาเรียนรู้สามารถทำได้หลายวิธี คือ ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ปัจจุบันมีการเผยแพร่ความรู้ด้วยตำราอิเล็กทรอนิกส์ โดยการนำเอกสารวิชาการ และตำราที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก  มาจัดทำให้รูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นศูนย์รวมตำราเรียนบนโลกอินเทอร์เน็ต    E- Books จะช่วยให้ผู้ศึกษา และผู้สนใจ ทั่วไป ศึกษาค้นคว้า และทดลองอ่านก่อนตัดสินใจซื้อตำราเหล่านั้น สิ่งสำคัญคือสามารถค้นคว้าหาความรู้และเลือกอ่านตำรา เรียนของสถานศึกษาได้ทุกเล่ม ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ 

การสื่อสาร

                               หน่วยที่  1  เรื่อง การสื่อสาร  (Communication)    
1.1  ความหมายของการสื่อสาร (Communication)
               การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์ เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

1.2  องค์ประกอบของการสื่อสาร         
            องค์ประกอบของการสื่อสาร   ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)   ผู้เริ่มต้นของการเผยแพร่ข่าวสาร
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใส่รหัสข่าวสาร ที่ส่งไปให้ผู้รับ
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) สิ่งที่นำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers) บุคคลที่ต้องการให้ข่าวสารเปลี่ยนมือไปถึง
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง  กระบวนการแปลสัญลักษณ์ที่ได้รับให้อยู่ในรูปของข่าวสาร ที่เข้าใจ และมีการตอบสนอง 
1.3   กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) เริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิด หรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ  เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิด หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว เป็นต้น  ซึ่งเรียกว่า ข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส  (Encoding)  แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร  เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decodingตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต  หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสาร ซึ่งอยู่ในรูปของความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียบก็เป็นได้  ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสาร อาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไป  เพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง (Noise or Interferes) ได้ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร   
             One – Way  Communication   กระบวนการติดต่อสื่อสารที่ไม่เปิดช่องทางหรือแบบทางเดียว
             Two - Way Communication   การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง

1.4        ประเภทของการติดต่อสื่อสาร  มี  2  ประเภท  ดังนี้
          1.   การติดต่อสื่อสารที่เป็นภาษา (Verbal Communication)
         2. การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นภาษา (Nonverbal Communication)
          * การติดต่อสื่อสารที่เป็นภาษา  (Verbal Communication) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน         
          * ภาษาเขียน ได้แก่ จดหมายธุรกิจ บันทึกภายในสำนักงาน (Memorandum) ข้อความทางโทรศัพท์ที่ได้จดบันทึกไว้ จดหมายข่าว คู่มือเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และนโยบายต่างๆ
          ข้อดีข้อเสียของภาษาพูดและภาษาเขียน
ข้อดีของภาษาเขียน
         1. เก็บไว้เป็นหลักฐานได้
2. สามารถกระจายข่าวให้กับบุคคลจำนวนมากได้เร็ว
      ข้อเสียของภาษาเขียน
            1. ต้นทุนในการเตรียมการสูง
           2. มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ
          ข้อดีของภาษาพูด
            1. รวดเร็วเป็นกันเอง
            2.  เห็นผลสะท้อนได้รวดเร็ว
          ข้อเสียของภาษาพูด
              1. เสียเวลานานในการพูดคุย
     *  การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นภาษา ( Nonverbal Communication)  คือ  การติดต่อสื่อสารที่แสดงออกทางพฤติกรรม ได้แก่
         1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinesic Behavior) ลักษณะท่าทาง สีหน้า สายตา                                                      
         2. ความใกล้ของสถานที่   (Proxemics) อิทธิพลของสถานที่ที่มีต่อการติดต่อสื่อสาร
        3. ลักษณะของน้ำเสียง (Paralanguage) น้ำเสียงที่เปล่งออกมา แสดงถึง อารมณ์ และความรู้สึก
        4. วัตถุสิ่งของที่ใช้ (Object Language) เกิดจากวัตถุสิ่งของที่ใช้ การติดต่อสื่อสาร ที่แสดงออกทางพฤติกรรม 
 1.5  รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร
         1 . แบบโซ่เส้นเดียว (Single-Strand Chain) ข่าวสารจะถูกส่งไปเป็นทอดๆ
        2.  แบบซุบซิบ (Gossip Chain) จากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่นอีกหลายคน
        3.  แบบสุ่ม (Probability Chain) จากบุคคลหนึ่ง ไปยังคนอื่นโดยไม่ เจาะจง
        4.  แบบกลุ่ม (Cluster Chain)     จากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่น โดยเลือกว่าจะบอกใคร