วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสาร

                               หน่วยที่  1  เรื่อง การสื่อสาร  (Communication)    
1.1  ความหมายของการสื่อสาร (Communication)
               การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์ เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

1.2  องค์ประกอบของการสื่อสาร         
            องค์ประกอบของการสื่อสาร   ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)   ผู้เริ่มต้นของการเผยแพร่ข่าวสาร
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใส่รหัสข่าวสาร ที่ส่งไปให้ผู้รับ
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) สิ่งที่นำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers) บุคคลที่ต้องการให้ข่าวสารเปลี่ยนมือไปถึง
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง  กระบวนการแปลสัญลักษณ์ที่ได้รับให้อยู่ในรูปของข่าวสาร ที่เข้าใจ และมีการตอบสนอง 
1.3   กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) เริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิด หรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ  เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิด หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว เป็นต้น  ซึ่งเรียกว่า ข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส  (Encoding)  แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร  เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decodingตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต  หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสาร ซึ่งอยู่ในรูปของความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียบก็เป็นได้  ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสาร อาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไป  เพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง (Noise or Interferes) ได้ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร   
             One – Way  Communication   กระบวนการติดต่อสื่อสารที่ไม่เปิดช่องทางหรือแบบทางเดียว
             Two - Way Communication   การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง

1.4        ประเภทของการติดต่อสื่อสาร  มี  2  ประเภท  ดังนี้
          1.   การติดต่อสื่อสารที่เป็นภาษา (Verbal Communication)
         2. การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นภาษา (Nonverbal Communication)
          * การติดต่อสื่อสารที่เป็นภาษา  (Verbal Communication) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน         
          * ภาษาเขียน ได้แก่ จดหมายธุรกิจ บันทึกภายในสำนักงาน (Memorandum) ข้อความทางโทรศัพท์ที่ได้จดบันทึกไว้ จดหมายข่าว คู่มือเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และนโยบายต่างๆ
          ข้อดีข้อเสียของภาษาพูดและภาษาเขียน
ข้อดีของภาษาเขียน
         1. เก็บไว้เป็นหลักฐานได้
2. สามารถกระจายข่าวให้กับบุคคลจำนวนมากได้เร็ว
      ข้อเสียของภาษาเขียน
            1. ต้นทุนในการเตรียมการสูง
           2. มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ
          ข้อดีของภาษาพูด
            1. รวดเร็วเป็นกันเอง
            2.  เห็นผลสะท้อนได้รวดเร็ว
          ข้อเสียของภาษาพูด
              1. เสียเวลานานในการพูดคุย
     *  การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นภาษา ( Nonverbal Communication)  คือ  การติดต่อสื่อสารที่แสดงออกทางพฤติกรรม ได้แก่
         1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinesic Behavior) ลักษณะท่าทาง สีหน้า สายตา                                                      
         2. ความใกล้ของสถานที่   (Proxemics) อิทธิพลของสถานที่ที่มีต่อการติดต่อสื่อสาร
        3. ลักษณะของน้ำเสียง (Paralanguage) น้ำเสียงที่เปล่งออกมา แสดงถึง อารมณ์ และความรู้สึก
        4. วัตถุสิ่งของที่ใช้ (Object Language) เกิดจากวัตถุสิ่งของที่ใช้ การติดต่อสื่อสาร ที่แสดงออกทางพฤติกรรม 
 1.5  รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร
         1 . แบบโซ่เส้นเดียว (Single-Strand Chain) ข่าวสารจะถูกส่งไปเป็นทอดๆ
        2.  แบบซุบซิบ (Gossip Chain) จากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่นอีกหลายคน
        3.  แบบสุ่ม (Probability Chain) จากบุคคลหนึ่ง ไปยังคนอื่นโดยไม่ เจาะจง
        4.  แบบกลุ่ม (Cluster Chain)     จากบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่น โดยเลือกว่าจะบอกใคร

1 ความคิดเห็น: