วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเภทของประชาธิปไตย

               ประชาธิปไตย จำแนกได้ออกเป็นหลายประเภท โดยบางประเภทให้เสรีภาพและความมีสิทธิ์มีเสียงแก่พลเมืองมากกว่ารูปแบบอื่น

ประชาธิปไตยทางตรง

ประชาธิปไตยทางตรง คือ รูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจ ใด ๆ ได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทำหน้าที่แทนตน ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยทางตรงได้โต้แย้งว่าประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น ควรจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าระเบียบการพื้นฐาน อย่าง เช่น การเลือกตั้ง
ประชาธิปไตยทางตรงนับจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเพียงรูปแบบที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากรูปแบบการปกครองดังกล่าวสามารถใช้ได้กับชุมชนที่มีกลุ่มคนขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นนครรัฐ อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยทางตรงสามารถพบเห็นได้ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนกว่าห้าล้านคน   สามารถลงประชามติ ประมาณสองถึงสี่ครั้งต่อปี  การปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงยังสามารถใช้ได้กับการปกครองที่มีขอบเขตเป็นจังหวัด     แต่ทว่าไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงในระดับประเทศอีกต่อไปแล้ว

ประชาธิปไตยทางอ้อม

ประชาธิปไตยทางอ้อมเป็นการปกครองโดยที่ประชาชนมีหน้าที่เลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภา โดยการเลือกตั้งจะคัดเอาผู้ที่มีคะแนนเสียงเหนือกว่าเป็นมาตรฐานทั่วไป
ผู้แทนดังกล่าวนอกเหนือจากจะสามารถมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว ยังอาจเข้ามาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจมาจากการกำหนดผู้แทนโดยพรรคการเมือง หรืออาจใช้รูปแบบผสมผสานกัน การปกครองแบบประชาธิปไตยทางอ้อมบางรูปแบบได้ดึงเอาลักษณะของประชาธิปไตยทางตรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คือ การลงประชามติ   การปกครองแบบดังกล่าวถึงแม้ว่าประชาชนจะเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน   แต่ผู้แทนเหล่านั้นก็ยังคงมีอำนาจตัดสินใจของตนเอง  และเลือกวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่  (http://th.wikipedia.org/wiki)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น